ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ตอนที่ 2/2)


การวัดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จากลิงค์ที่พี่แนบมา แบ่งเป็น 3 วิธีคือ

การวัดโดยตรงจากระดับเลือด ได้แก่

1. Fasting Insulin Level ระดับปรกติ อยู่ระหว่าง 2.6 – 24.9 micro IU/ml
2. Measurement of response to direct iv infusion of insulin
3. Euglycemic insulin clamp technique

https://emedicine.medscape.com/article/122501-workup#c1

ทั้ง 3 วิธี ทำได้ค่อนข้างยาก เสียเวลาในทางปฏิบัติ จึงเป็นที่มาของวิธีถัดมาคือ

ใช้โมเดลการคำนวณ ซึ่งพี่ปุ๋มเขียนโพสต์นี้ไปแล้ว เมื่อ 2 วันก่อน ว่าเราจะคำนวณค่าภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อย่างไร เอามาแปะลิงค์ไว้ให้อีกที เพื่อรวมไว้ในโพสต์เดียว

https://www.facebook.com/573063853038560/posts/702078766803734/

การดูค่าเมตาบอลิกสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงการมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ได้แก่

1. ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงกว่าปรกติ
2. LDL-Cholesterol ขนาดเล็กและหนาแน่น ที่เพิ่มขึ้น (sd LDL)
3. HDL-Cholesterol ลดลง
4. Fasting Blood Glucose ที่อาจปรกติ หรือ ขยับขึ้น (>100 mg/dl)ให้ดูประกอบกับ Fasting Insulin Level ซึ่งสูงแน่นอน
5. มีระดับกรดยูริกสูงกว่าปรกติ
6. มีความดันโลหิตสูง
7. อ้วน หรือน้ำหนักเกิน
8. มีระดับ HbA1c > 5.7%

การมีภาวะดื้อต่ออินซูลินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร (ดูรูปที่ 1 ประกอบ)

 

การมีภาวะดื้อต่ออินซูลินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร
การมีภาวะดื้อต่ออินซูลินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

 

พี่ปุ๋มเคยเขียนโพสต์ไปเมื่อวันที่ 2 เดือน มิ.ย. เป็นการสรุปงานวิจัย 432 การศึกษา เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะดื้อต่ออินซูลินกับโรคร้ายแรงต่างๆ พบว่าอินซูลินมีบทบาทอยู่ในทุกโรคที่รายงานในงานวิจัยเหล่านั้น พี่แปะลิงค์โพสต์นั้นให้อีกทีนะคะ

https://www.facebook.com/573063853038560/posts/653291371682474/

เอาละมาถึงส่วนที่รอคอยกันแล้วนะคะ แล้วเราจะจัดการย้อนภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วยหลักทางโภชนาการอย่างไรบ้าง พี่อ้างอิงจากหนังสือดีชื่อ Syndrome X เขียนโดย Jack Challem

โภชนาการ 9 หลักการในการย้อนภาวะดื้อต่ออินซูลิน

1. หลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านขบวนการ (Refined Carbohydrate)ได้แก่ แป้งสาลีฟอกขาวที่ป่นจนเป็นฝุ่น ข้าวขาว น้ำตาลทุกประเภท

2. รับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติและสดใหม่ให้มากเท่าที่เป็นไปได้

3. เน้นผักใบเขียวเป็นหลัก ระมัดระวังผักหัว (Starchy Vegetables) ให้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต

4. จำกัดปริมาณอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้การกระจายพลังงานปานกลางถึงต่ำ (ขึ้นอยู่กับระดับความซีเรียสของค่าตัวแปรเมตาบอลิกที่กล่าวมาแล้ว)

5. หลีกเลี่ยง(พี่ขอให้เลิกเลยค่ะ)เครื่องดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มผสมน้ำตาลทุกประเภท น้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

6. กำจัด (เขาใช้คำว่า eliminate เลยค่ะ) น้ำมันพืชผ่านขบวนการที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 6 ออกไปจากอาหาร และเปลี่ยนมาใช้ น้ำมันมะกอกสกัดเย็นแทน

7. เพิ่มโอเมก้า 3 ในอาหารเสมอเมื่อมีโอกาส

8. งดอาหารที่ deep fried มาการีน และอาหารที่มีส่วนประกอบของ partially hydrogenated oils (งดไขมันทรานส์นั่นเอง)

9. รับประทานโปรตีนในทุกมื้ออาหารและของว่าง

คุ้นๆไหมคะ วิถีชีวิตโลว์คาร์บนี่เอง

นอกจากนั้น ก็ให้ออกกำลังกายปานกลาง การออกกำลังกายที่แนะนำคือ การเดินเป็นประจำสม่ำเสมอค่ะ (พี่เดินมา 980 กว่าวันเฉลี่ยวันละ 5,000 ก้าว กำลังจะปิดโปรเจค “มหัศจรรย์เดินพันวันเปลี่ยนชีวิต” แล้วค่ะ)

อาหารเสริมที่แนะนำคือ

1. Alpha Lipoic Acid : The Master Nutrient

2. Vitamin E , C

3. Chromium,Zinc, Magnesium, Manganese, Selenium, Vanadium

4. Antioxidants กลุ่ม Flavonoids เช่น quercetin จากหัวหอม และแอ๊ปเปิ้ล Pycnogenol จากเปลือกสนมาริไทม์ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น citrus flavonoids แล้ว่นจากส้มมะนาว เกรปฟรุต ชาเขียว กลุ่ม Carotenoids ต่างๆ เช่น Vitamin A, Coenzyme Q 10, Vitamin D

ในเรื่องอาหารเสริม เดี๋ยวพี่มีเวลา จะมาขยายความให้อีกทีนะคะ ว่ามันช่วยย้อนภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อย่างไร

หวังว่าพวกเราจะนำเอาข้อมูลไปปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินกันนะคะ อย่าลืมว่า “อินซูลิน เจ้าพ่อของทุกฮอร์โมน” ค่ะ 

Book Ref : The Diabetes Epidemic & You
by Dr.Joseph Kraft

Syndrome X by Jack Challem

The Insulin Resistance
Solution by Dr.Rob Thompson