Evidence that supports the prescription of low carbohydrate high fat diet : a narrative review (ตอนที่ 2/4)


มาแล้วตอนที่ 2/4 ของการสรุปงานวิจัย การใช้โภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง ในความผิดปรกติทางเมตาบอลิกต่างๆของร่างกาย

ซึ่งรีวิวโดย Prof.Timothy David Noakes ตีพิมพ์ในวารสาร British Medical Journal of Sport Medicine เชิญอ่านบทสรุปที่พี่ปุ๋มถอดความต่อจากตอนที่ 1 ได้เลยค่ะ

อ่านบทความตอนที่ 1

 


Evidence that supports the prescription of low carbohydrate high fat diet : a narrative review (ตอนที่ 2/4)

โดย : Prof.Timothy David Noakes และคณะ
ตีพิมพ์ : British Journal of Sport Medicine
วันที่ : Jan 4, 2017

 

ในตอนที่ 1 เราสรุปคำจำกัดความของโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันสูง คืออะไรกันแน่ ปริมาณคาร์บขนาดไหนถึงเรียกว่า คาร์บต่ำ และโภชนาการคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันสูง (LCHF) (< 26% ของแคลอรี่ทั้งหมดต่อวัน หรือ คาร์โบไฮเดรต < 130 กรัมต่อวัน) เป็นคำจำกัดความที่ Prof.Noakes ใช้ค่ะ

ตอนที่ 2 นี้ เราจะเริ่มเข้าไปดูว่าโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันสูง ใช้ในการจัดการภาวะผิดปรกติทางคลินิคอะไรบ้าง และประสิทธิภาพเป็นอย่างไร มาเริ่มที่ข้อบ่งใช้อันดับแรก

โภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง ในการลดน้ำหนัก

มีรายงานวิจัยการใช้โภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง จำนวนมาก ที่แสดงถึงประสิทธิผลในการลดน้ำหนักได้อย่างน้อยดีเทียบเท่ากับหรือมากกว่า โภชนาการคาร์บสูงไขมันต่ำ

กลไกของโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง ในการลดน้ำหนัก มี 2 กลไกหลัก

1. เพิ่มการทำงานกลไกความอิ่มของร่างกาย ผ่านการทานโปรตีนสูงปานกลาง ซึ่งช่วยส่งเสริมความรู้สึกอิ่ม ภาวะคีโตซิสที่เกิดขึ้น กดความอยากอาหาร

2. ข้อได้เปรียบทางเมตาบอลิกที่เฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะกับคนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น ลดระดับอินซูลินในเลือด เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำน้อยกว่า จึงทำให้ทานอาหารได้น้อยลง แต่ก็ไม่หิวมากนัก
(ดูตารางที่ 2 ประกอบ)

ข้อได้เปรียบทางเมตาบอลิกของโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง

1. เพิ่มการใช้พลังงานจากการเผาผลาญโปรตีน (Increased Thermogenic Effect of Protein Intake)

2. มีการใช้โปรตีนเพื่อขบวนการสร้างน้ำตาลใหม่มากขึ้น (Greater Protein Turnover for Gluconeogenesis)ในช่วงแรกของการทานโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง เลยไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จนเกิดอาการหิวจัด

3. มีการสูญเสียพลังงานในรูปคีโตนผ่านทางปัสสาวะและเหงื่อ

4. เพิ่มการเผาผลาญไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการออกกำลังกาย เราพบว่าโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง ลดระดับอินซูลินในเลือด จึงเพิ่มเผาผลาญไขมัน(Lipolysis) ลดการสร้างไขมันใหม่ (Lipogenesis)ส่งผลให้ลด Respiratory Quotients

(Ref ที่ 1,3,7,18,21,25,32,33,34,35a,41,43, 45, 46-56 ได้เลยค่ะ)

 

ต่อไปก็เป็นข้อบ่งใช้ทางคลินิกประเภทที่ 2

โภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง กับการจัดการเบาหวานประเภทที่ 2

เบาหวาน โดยหลักการแล้วคือภาวะของการดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับอินซูลินในเลือดต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงมีลักษณะสูงค้าง เมื่อระดับอินซูลินในเลือดต่ำ ก็จะเพิ่มการสร้างกลูโคสจากตับ

ก่อนหน้าที่จะมีการพบฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย แพทย์ใช้โภชนาการคาร์บต่ำกับคนไข้เบาหวานทั้งประเภทที่ 1 และ 2 ส่วนในปัจจุบัน โภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง ได้รับการพิจารณาในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ว่าสมควรจะใช้เป็น 1st line treatment ในการรักษาเบาหวานประเภทที่ 2

จากการศึกษาอ้างอิง การใช้โภชนาการในคนไข้เบาหวานประเภทที่ 2 นั้น ช่วยลดน้ำหนัก ลดระดับกลูโคสหลังอดอาหาร 8 ช.ม.(Fasting Blood Sugar) ลด HbA1C อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังช่วยลดการใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลลงอีกด้วย

(Ref ที่ 2,27,40,57-65)

สำหรับตอนที่ 2 จบแต่เพียงเท่านี้ พรุ่งนี้เราจะมาต่อตอนที่ 3 ซึ่งจะเขียนถึงโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง ในอีก 2 ข้อบ่งใช้ทางคลินิกกันต่อไป เห็นหรือยังค่ะว่าโภชนาการคาร์บต่ำ ไขมันดีสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ต้องขอบคุณ Prof.Tim Noakes ที่รีวิวการศึกษาจำนวนมาก อย่างละเอียด เพื่อให้เราเห็นภาพทั้งหมดในการตีพิมพ์ครั้งนี้ 

https://bjsm.bmj.com/content/51/2/133