infographic สรุปโพสต์เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ของ Dr.Rhonda Patrick เรื่องความเกี่ยวข้องของเมลาโมนิน กับ ความอ้วนและเบาหวานประเภทที่ 2
เพราะอะไร กินอาหารมื้อดึก จึงทำให้น้ำหนักเกินและเพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 แชร์กันได้เลยค่ะ
ในวิดีโอของ Dr.Rhonda Patrick ความยาว 5 นาทีนี้ เธออธิบายถึงบทบาทของเมลาโท
ทุกเซลล์ในร่างกายจะมีนาฬิกาชีวภาพติดตั้งอยู่ ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการทางสรีระวิทยาต่างๆอย่างกว้างขวางตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เช่น การผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการหลับ ความหิว การเผาผลาญอาหารเป็นพลังงาน ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลต่อน้ำหนัก และสุขภาพของร่างกาย
นักวิทยาศาสตร์พบว่าการแสดงออกของยีนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมราว 10 ถึง 40% อยู่ภายใต้การควบคุมของนาฬิกาชีวภาพ เช่นการแสดงออกของยีนในสมอง ตับ และกล้ามเนื้อ ดังนั้นจังหวะนาฬิกาชีวภาพที่เป็นปรกติ จึงมีผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
ฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหารเป็นพลังงานตามจังหวะนาฬิกาชีวภาพ นอกเหนือจากฮอร์โมนอินซูลิน ที่เราคาดไม่ถึงคือ เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไพเนียลในสมอง ไม่น่าเชื่อว่าเมลาโทนินมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีระวิทยาของร่างกายโดยควบคุมการแสดงออกของยีนมากกว่า 500 ยีน
แสงเป็นตัวการที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการหลั่งเมลาโทนิน เราพบว่าโดยทั่วไประดับเมลาโทนินจะต่ำในช่วงเวลากลางวันและสูงในช่วงเวลากลางคืน
ฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหารเป็นพลังงานตามจังหวะนาฬิกาชีวภาพ นอกเหนือจากฮอร์โมนอินซูลิน ที่เราคาดไม่ถึงคือ เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไพเนียลในสมอง ไม่น่าเชื่อว่าเมลาโทนินมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีระวิทยาของร่างกายโดยควบคุมการแสดงออกของยีนมากกว่า 500 ยีน เรามักจะคิดว่าเมลาโทนินเป็นแค่ฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เนื่องจากเราจะพบปริมาณเมลาโทนินที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาก่อนเข้านอน และพบในปริมาณต่ำช่วงเวลาที่ร่างกายต้องเจอกับแสงตอนกลางวัน
เมลาโทนินไม่ได้ทำหน้าที่แค่ควบคุมการนอนหลับของเราเท่านั้น มันยังทำหน้าที่ส่งข้อความไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย เพื่อบอกให้อวัยวะเหล่านั้นรับรู้ว่า ร่างกายกำลังเตรียมตัวเข้านอน และเข้าสู่โหมดฟื้นฟู สร้างเซลล์ใหม่
งานวิจัยล่าสุดให้ข้อมูลที่สำคัญมากว่า ในขณะที่ร่างกายเตรียมตัวเข้านอนในตอนกลางคืน เมลาโทนินเดินทางไปจับกับตัวรับ (receptor)ที่ตับอ่อน ส่งผลให้ตับอ่อนหยุดผลิตฮอร์โมนอินซูลินชั่วคราว
ในขณะที่ร่างกายกำลังเข้าสู่ขบวนการนอนหลับ เราไม่ทานอาหารแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ตับอ่อนต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
ในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จังหวะนาฬิกาชีวภาพและการทำงานของเมลาโทนินก็สัมพันธ์กันดี ไม่ได้ส่งปัญหาอะไรต่อสุขภาพมนุษย์ แต่ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถเข้าถึงอาหารได้ตลอด 24 ชั่วโมง (นึกถึงร้านสะดวกซื้อและแอพพลิเคชั่นส่งอาหารตลอด 24 ชั่วโมง ดูสิคะ) เราจึงเริ่มบริโภคอาหารในตอนดึกกันมากขึ้น
เมื่อมนุษย์เริ่มบริโภคอาหารในช่วงเวลาที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานของนาฬิกาชีวภาพของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญอาหารเป็นพลังงาน
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อรับประทานอาหารช่วงดึกจึงสูงกว่าปกติ (hyperglycemia) อันเนื่องมาจากเมลาโทนินที่มีปริมาณสูงในช่วงก่อนนอน จะจับกับตัวรับที่ตับอ่อน เพื่อหยุดการผลิตอินซูลินชั่วคราว จึงทำให้มีอินซูลินไม่เพียงพอที่จะพาน้ำตาลเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ได้ดี จึงพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ
ดังนั้น เมื่อมนุษย์เริ่มรับประทานอาหารในช่วงเวลาดึก ซึ่งขัดแย้งกับการทำงานของนาฬิกาชีวภาพเป็นระยะเวลานาน ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของเบาหวาน และความผิดปกติทางเมตาบอลิสมอื่นๆเช่น อ้วน ไขมันพอกตับ ความดัน โลหิตสูง เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อมนุษย์เริ่มรับประทานอาหารในช่วงเวลาดึก ซึ่งขัดแย้งกับการทำงานของนาฬิกาชีวภาพเป็นระยะเวลานาน ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของเบาหวาน และความผิดปกติทางเมตาบอลิสมอื่นๆเช่น อ้วน ไขมันพอกตับ ความดัน โลหิตสูง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยอีกหลายฉบับ ที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องของระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นเกินค่าปกติ กับการสูญเสียเนื้อสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลา ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำได้หมายรู้
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวที่ชอบแหกกฎนาฬิกาชีวภาพ ไม่ใช้ชีวิตตามจังหวะนาฬิกาธรรมชาติ ตามแสงสว่างและความมืด จึงไม่น่าแปลกใจที่มนุษย์กำลังเผชิญกับโรคเรื้อรังที่เกิดจากการใช้ชีวิตผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ
ในวิดีโอ มีช่วงที่ Dr.Rhonda สัมภาษณ์ Dr.Satchin Panda ผู้เชี่ยวชาญ Circadian Rhythm ด้วย เกี่ยวกับ eTRF (early Time Restricted Feeding) ที่พี่เคยเขียนโพสต์ไว้หลายโพสต์ด้วยกัน โดยสรุปคือ
1. ทานอาหารในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นถึงก่อนพระอาทิตย์ตก ให้มีช่วง Feeding 8-10 ช.ม. และช่วงเวลาที่เหลือ 14-16 ช.ม.คือการหยุดกินอาหาร (Fasting)
2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อลดความเสี่ยงของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปรกติ และหยุดเล่นอุปกรณ์ที่ปล่อยแสงสีฟ้า เช่น สมาร์ทโฟน เพื่อให้เมลาโทนินผลิตได้เต็มที่ และทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
แหล่งที่มา :
เพจ Foundmyfitness https://www.foundmyfitness.com/episodes/melatonin-insulin-response?fbclid=IwAR2huHqXMWrVifP74idsEdhYHT66UZpzHSsKcKqH2e0V8bp9EgBRVtfwHqY ขอความ
ขอความมีสุขภาพกายใจที่ดี จงสถิตอยู่กับทุกคน