The 5 Stages of Intermittent and Prolonged Fasting (ตอนที่ 1)


เกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย เมื่อหยุดกินอาหาร 12,18,24,48,54 และ 72 ช.ม. (ตอนที่ 1)

โดย : Dr. Paige Jarreau
Resource : Lifeapps.io

https://lifeapps.io/…/the-5-stages-of-intermittent-fasting/…

การหยุดกินอาหาร ทั้งแบบเป็นช่วงเวลาและระยะเวลานาน (Intermittent and Prolonged Fasting) ไม่ได้เป็นแค่เพียงกลยุทธ์ในการลดน้ำหนัก โดยการ hack ร่างกายให้ขจัดไขมันได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ยังคงสงวนมวลกล้ามเนื้อเพียงเท่านั้น การหยุดกินอาหาร ยังเป็นวิถีดำเนินชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพ โดยมีการบันทึกเรื่องการหยุดกินอาหารตลอดมาในวิวัฒนาการของมนุษย์ และในงานวิจัยทางเมตาบอลิสม

มีกระบวนการทางชีวเคมีหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกาย ในขณะที่เราหยุดกินอาหาร (Fast State) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในขณะที่เราอยู่ในช่วงเวลากินอาหาร (Fed State) หรือเกิดขึ้นได้ช้ามากในภาวะที่ร่างกายเผาผลาญกลูโคส (Glucose Metabolism)


สภาวะ 5 ระดับ ที่เกิดขึ้นในขณะที่เราหยุดกินอาหาร
(5 Stages of Intermittent Fasting)

พี่ปุ๋มเคยเขียนโพสต์เกี่ยวกับ สิ่งทึ่เกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มหยุดกินอาหาร โดยอ้างอิงจากหนังสือ The Complete Guide to Fasting โดย Dr.Jason Fung และ Jimmy Moore ซึ่งพูดถึงสภาวะ 5 ระดับ ที่คล้ายคลึงกัน แต่เป็นการแบ่งตามสรีรวิทยา ซึ่งแบ่งโดย Prof.Dr.George F. Cahill Jr. ผู้ล่วงลับ ซึ่ง เป็นหนึ่งในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องสรีระวิทยาของการหยุดกินอาหาร พี่วางโพสต์เก่าไว้ตรงนี้ให้น้องใหม่ได้ศึกษาด้วยนะคะ

THe Complete Guide to Fasting

https://www.facebook.com/573063853038560/posts/638038856541059?sfns=mo

 

ในบทความนี้ Dr.Paige แบ่ง Stage ไว้เป็น 5 ระดับเช่นกัน แต่ตามระยะเวลาในการหยุดกินอาหาร โดยในแต่ช่วงระยะเวลา จะมีงานวิจัยสนับสนุนไว้ให้ศึกษาเพิ่มเติม

Stage 1 : Ketosis and Heavy Ketosis
Stage 2 : Autophagy
Stage 3 : Growth Hormone Secretion
Stage 4 : Insulin Reduction
Stage 5 : Immune Rejuvenation

 

ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจกับปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดกินอาหารที่ชั่วโมงต่างๆ เรามาทำความเข้าใจถึงข้อมูลโดยทั่วไปของ Fed และ Fast State กันก่อน

ตัวรับรู้สารอาหาร (Nutrient Sensors) ที่สำคัญมาก 3 ชนิดที่พี่ปุ๋มเขียนมาตลอดคือ

 

1 Insulin

2 mTOR (Mamalian Target Of Rapamycin)

3 AMPK (Adenosine Monophospate Protein Kinase)

 

ในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะที่ได้รับสารอาหาร (Fed State) ทุกเซลล์จะได้รับสัญญาณจากอินซูลิน และ mTOR ให้เตรียมพร้อมที่จะเจริญเติบโต ด้วยการแบ่งตัวและสังเคราะห์โปรตีนเพิ่ม (Cell Proliferation State) mTOR ชอบสภาวะที่มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะ คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน

mTOR จะส่งสัญญาณให้เซลล์ยับยั้งขบวนการภายในเซลล์ที่เรียกว่า Autophagy ซึ่งเป็นกระบวนการเก็บกวาดขยะภายในเซลล์ นำไปรีไซเคิล และทำความสะอาดชิ้นส่วนเซลล์ที่เสียหาย รวมถึงโปรตีนที่พับผิดรูป (misfold protein)

ในช่วงที่เต็มไปด้วยสารอาหาร (Fed State) เซลล์จะอยู่ในสภาวะที่มีปฏิกิริยาชีวเคมี “Acetylated” สูง หมายความว่าโมเลกุลหลายชนิดจะถูกเกาะติดด้วย Acetyl group (CH3=CO) ที่ตำแหน่งกรดอะมิโนไลซีน โดยเฉพาะ “Packaging Protein” สำคัญชื่อ Histone ซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มดีเอ็นเอไว้อย่างเรียบร้อยและแน่นหนาที่แกนกลางของเซลล์ ก็จะถูกติดด้วย Acetyl group เช่นกันในภาวะที่เต็มไปด้วยสารอาหาร (ข้อมูลนี้น่าสนใจมากค่ะ)

ปฏิกิริยา Acetylation นี้จะทำให้โปรตีน Histone ที่ห่อหุ้มดีเอ็นเอไว้อย่างแน่นหนา เกิดการหลวมตัว ทำให้ดีเอ็นเออยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะถูกคัดลอกสำเนา (Gene Transcription) เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโตของเซลล์

นอกจากปฏิกิริยา Acetylation เพิ่มขึ้นแล้ว ในช่วงที่เต็มไปด้วยสารอาหาร (Fed State) เซลล์ยังทำการปิดยีนอื่นๆอีกด้วย ได้แก่ยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญไขมัน การจัดการต้านความเครียดระดับเซลล์ (Oxidative Stress) และกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ จนกว่าเข้าสู่ช่วงเวลาหยุดกินอาหาร (Fast State) คีโตนที่เกิดขึ้น (Betahydroxy Butyrate, Acetoacetate และ Acetone)จึงจะกระตุ้นยีนเหล่านี้อีกครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ต้านความเครียดระดับเซลล์ และเพิ่มการซ่อมแซมเซลล์

มาดูช่วงหยุดกินอาหาร (Fast State) กันบ้าง ร่างกายจะตอบสนองความตึงเครียดที่รับรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมว่าไม่มีอาหาร โดยการเปิดยีนที่มีความสำคัญต่อการปกป้องร่างกายจากความตึงเครียดเหล่านี้

เมื่อเราหยุดกินอาหาร (Fast State) หรือออกกำลังกายเรากำลังกระตุ้นวิถีการส่งสัญญาณของ AMPK (AMPK Signalling Pathway) AMPK (Adenosine Monophosphate Protein Kinase) คือเอนไซม์ที่เป็นตัวเบรค mTOR Pathway โดยส่งสัญญาณให้เซลล์เข้าสู่ภาวะปกป้องตัวเอง (Self Protective Mode) กระตุ้นขบวนการ Autophagy และสลายไขมัน

ในขณะเดียวกันเมื่อเราหยุดกินอาหาร (Fast State) ระดับ coenzyme NAD+ (nicotinamide adenine dinucleotide) จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่มีน้ำตาลและโปรตีนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่จะเปลี่ยนให้ NAD+ เป็น NADH ผ่านกระบวนการ Krebs Cycle

NAD+ เป็นโมเลกุลที่สำคัญใน Krebs Cycle (สารตั้งต้นในการผลิตคือวิตามิน B3) แล้วทำไมเราจึงได้ยินคนพูดถึง NAD+ กันมากขึ้น ก็เพราะ NAD+ มีความสามารถในการกระตุ้นโปรตีนสำคัญ Sirtuin สองตัวคือ SIRT1 และ SIRT3

ทั้ง SIRT 1 และ SIRT3 สำคัญมากในช่วงหยุดกินอาหาร เพราะมันคือโปรตีนที่จะเป็นตัวเอา Acetyl group ออกจาก histone (จำได้ไหมคะ) ทำให้ Histone ที่เคยหลวม กลับไปห่อ DNA แน่นหนาเหมือนเดิม จึงลดการคัดลอกสำเนายีนเพื่อผลิตโปรตีน เซลล์จึงหยุดการเจริญเติบโต

ดังนั้นในช่วงที่เราหยุดกินอาหาร (Fast State) Sirtuins มันจะหยุดยีนที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของเซลล์ (Cell Proliferation) แต่จะไปกระตุ้นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไมโตคอนเดรียใหม่ขึ้นมาแทน เมื่อมีไมโตคอนเดรียใหม่เกิดขึ้น มันจึงทำหน้าที่ขจัด Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งคือการจัดการความเครียดระดับเซลล์ (Cellular Oxidative Stress) เป็นการปกป้องเซลล์ในช่วงที่ไม่มีสารอาหาร (Self Protective Mode)


ว้าว มีปฏิกิริยาชีวเคมีหลากหลายเกิดขึ้นในขณะหยุดกินอาหาร (Fasting) ในตอนที่ 2 เราจะมาเจาะลึกกันเป็นช่วงเวลาว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในขณะที่เราหยุดกินอาหาร ชั่วโมงที่ 12 18 24 48 54 และ 72 ชั่วโมง
(ใครที่ใจร้อน อยากรู้เร็วๆ พี่ถ่ายรูปร่างโพสต์ที่เป็นลายมือของพี่ไว้ให้ด้วยนะคะ โพสต์เรื่องนี้ ร่างไปทั้งหมด 6 หน้า

ขอความมีสุขภาพกายใจที่ดีจงสถิตอยู่กับทุกคน 


References

1 Klein et al. (1993) Progressive alterations in lipid and glucose metabolism during short-term fasting in young adult men.
2 Alirezaei et al. (2010) Short-term fasting induces profound neuronal autophagy
3 Walsh et al. (2015) Fasting and exercise differentially regulate BDNF mRNA expression in human skeletal muscle.
4 Cheng et al. (2014) Prolonged Fasting Reduces IGF-1/PKA to Promote Hematopoietic-Stem-Cell-Based Regeneration and Reverse Immunosuppression.
5 Natalucci et al. (2005) Spontaneous 24-h ghrelin secretion pattern in fasting subjects: maintenance of a meal-related pattern.
6 Sinturel et al. (2017) Diurnal Oscillations in Liver Mass and Cell Size Accompany Ribosome Assembly Cycles.
7 Hartman et al. (1992) Augmented growth hormone (GH) secretory burst frequency and amplitude mediate enhanced GH secretion during a two-day fast in normal men.
8 Anton et al. (2018) Flipping the Metabolic Switch: Understanding and Applying the Health Benefits of Fasting.


 


Previous articleMetabolic Flexibility : The Secret To A Great Body, Energy & Longevity (ตอนจบ)
Next articleThe 5 Stages of Intermittent and Prolonged Fasting (ตอนจบ)
ภญ.โสภิตา ศิริรัตน์
พี่ปุ๋มเคยมีน้ำหนักถึง 92.8 กิโลกรัม เข้าข่ายอ้วนระดับอันตรายเลยค่ะ ปัจจุบันพี่ปุ๋มน้ำหนักลดลง 15 กิโลกรัม เอวลดลง 5 นิ้ว ไขมันลดลงไป 4.8% ซึ่งถึงแม้จะยังมีไขมันส่วนเกินที่ต้องขจัดออกอีกก็ตาม พี่ปุ๋มก็อยากจะแชร์ความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือสุขภาพดีๆเยอะมาก รวมทั้งตำราวิชาการอื่นๆ นำมาปฏิบัติกับตัวเอง จนเข้าใจการทำงานของร่างกายในการสะสมและขจัดไขมันออก จึงอยากแบ่งปัน และอยากจะให้ทุกคนได้เห็นพัฒนาการการขจัดไขมันของพี่ต่อไป พร้อมๆกับชวนเพื่อนๆให้มาขจัดไขมันส่วนเกินไปด้วยกัน